การทำการตลาดโดยใช้ Customer Journey จะเป็นตัวแปรสำคัญที่เราสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น สิ่งที่เราต้องลองมองในภาพกว้างๆว่า ลูกค้าต้องการอะไร ก่อนที่จะพิจารณาว่า เราจะเสนอขายอะไรให้ลูกค้ส
หลักการง่ายนิดเดียวค่ะ ถ้าเราสามารถตอบคำถามว่าลูกค้าต้องการอะไร เราจะสามารถทำแผนการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยปกติเราจะเริ่มจากการสร้าง Persona หรือตัวอย่างลูกค้าขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้เราโฟกัสกับตัวลูกค้า เพื่อการสร้างแผนธุรกิจหรือแผนการตลาดได้ง่ายขึ้ย
ดังนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้องหาคือ อะไรคือปัญหาหลักของลูกค้า และสินค้าของเราจะตอบคำถามได้ยังไง แผนการตลาดที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ต้องชัดเจน ตรงเป้าหมายและว้าว!
ถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าควรเริ่มต้นจากตรงไหน ปรึกษาเราได้ที่ไลน์ @eustonconsulting
แผนธุรกิจแบบ 7 โดเมนออกแบบโดย John Mullins ผู้เขียนหนังสือ “The New Business Road Test.” ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดย Mullins กล่าวว่า 7 โดเมนนั้นเหมือนส่วนสำคัญทุกอย่างที่คุณจำเป็นจะต้องรู้ก่อนการเริ่มทำธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจ Startup ซึ่ง 7 โดเมนจะประกอบด้วย
ทั้ง 7 โดเมนจะสามารถวิเคราะห์ธุรกิจของคุณได้อย่างไร มาดูกัน
ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Market domain คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับ Industry domain?
Market domain คือ ตลาดที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าอยู่
Industry domain คือ ตลาดที่ supplier ของคุณอยู่
Market Domain/Macro Level: Market Attractiveness ส่วนแรกคือ Market domain ในระดับ Macro หรือที่เรียกว่าในระดับมหภาคตรงนี้ เราจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า PEST Analysis มาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามว่า ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ เทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจของคุณ
Market Domain/Micro Level: Sector Market Benefits and Attractiveness ส่วนที่สอง เรายังคงดูที่ Market domain หรือตลาดของผู้บริโภคที่เข้าถึงตัวผู้ซื้อหรือผู้ใช้งานตัวจริง คำถามที่สำคัญที่สุดคือ “สินค้าหรือบริการของเราจะเข้าไปในตลาดได้อย่างไร” ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการคืออะไร สิ่งที่ลูกค้ามีอยู่แล้วไม่สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้ใช่หรือไม่
Industry Domain/Macro Level: Industry Attractiveness ส่วนที่สาม คือการวิเคราะห์ตลาดของ supplier ของเราว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (ซึ่งก็คือเรา) มีมากน้อยแค่ไหน โดยปกติเราจะใช้เครื่องมือ Porter five forces ในการวิเคราะห์
Industry Domain/Micro Level: Sustainable Advantage ส่วนที่สี่ จะเป็นการโฟกัสที่ธุรกิจและขั้นตอนการทำธุรกิจโดยตรง ซึ่งจะต้องเข้ามาดูในตัวธุรกิจว่ามีขั้นตอนในการทำงานอย่างไร เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจโดยทำทุกขั้นตอนในการทำงานตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้าร้าน หรือ ลูกค้าสมัครเข้าใจงานแอปพลิเคชั่น จนถึงจบขั้นตอนการซื้อหรือการใช้บริการ จากนั้นนำ skills ที่สำคัญและเกี่ยวข้องมาวิเคราะห์
Team Domain: Mission, Aspirations, Propensity for Risk ส่วนที่ห้า ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่พูดถึงตัวคุณว่าคุณมีความชอบ แรงบันดาลใจอย่างไรในการทำธุรกิจ เคยประกอบธุรกิจมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีประสบการณ์อย่างไรที่จะมาสนับสนุนธุรกิจนี้
Team Domain: Ability to Execute on Critical Success Factors ส่วนที่หก จะเป็นส่วนที่สำคัญมากว่าจุดเด่นที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจของคุณคืออะไร ดังนั้น เราจึงต้องกำหนด Critical Success Factors ว่าถ้าขาดสิ่งนี้ไป ธุรกิจจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น ถ้าขาดพนักงานขาย ร้านค้าก็ไม่สามารถดำเนินการขายได้ นอกจากนี้ เรายังใช้เครื่องมือที่เรียกว่า SWOT และ TOWS มาวิเคราะห์เพื่อให้คุณได้เห็นภาพมากขึ้น
Team Domain: Connectedness up, Down, Across Value Chain ส่วนที่เจ็ด ส่วนสุดท้ายของ 7 โดเมน เราจะพูดถึง connection ของคุณว่าคุณรู้จัก supplier ของคุณดีแค่ไหน? ถ้า supplier ไม่ส่งสินค้าให้ตามกำหนด คุณมี supplier อื่นหรือไม่?
ถ้าคุณสนใจบริการแผนธุรกิจแบบ 7 domains สามารถติดต่อเราได้ที่นี่
หรือทาง line – @eustonconsulting
ที่ปรึกษาธุรกิจ สามารถช่วยคุณได้หลากหลาย ทั้งแก้ปัญหา วางแผนการตลาด วางแผนธุรกิจ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาธุรกิจที่เข้าใจทั้งธุรกิจของคุณและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของคุณด้วย บทความนี้จะนำเสนอข้อดีและลักษณะที่คุณจะต้องพิจารณาในการจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจของคุณ
ที่ปรึกษาธุรกิจ (ภาพจากอินเตอร์เนต)
หากคุณสนใจบริการ ที่ปรึกษาธุรกิจ ของเรา สามารถเช็คราคาได้ที่นี่
แนวทางการสร้าง marketing plan หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าแผนการตลาดนั้น ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องเขียนในรูปแบบไหน มีเนื้อหาอะไรบ้าง แต่หลักๆแล้ว marketing plan จะประกอบด้วย
1. environment analysis หรือ การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตลาด
2. marketing strategy หรือ กลยุทธ์การตลาด
3. financial analysis หรือ การวิเคราะห์ด้านการเงิน
4. control and implementation หรือ การควบคุมและปฏิบัติตามแผน
Environment analysis
หลักการเขียน Environment analysis นั้นนิยมวิเคราะห์โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า PESTEL, Porter’s five forces, SWOT & TOWS และ Competition gap เครื่องมือเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันนั้นจะส่งผลกระทบอย่างไรกับธุรกิจที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ โดยเป็นการพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เช่น
PESTEL ประกอบด้วย Political, Economical, Social, Technology, Environment และ Legal
Porter’s five forces ประกอบด้วย อำนาจต่อรองของผู้ซื้อหรือลูกค้า, อำนาจต่อรองของ Supplier, คู่แข่งในตลาด, การเข้ามาในตลาดของธุรกิจใจ และ สินค้าทางเลือก
SWOT & TOWS ประกอบด้วย จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส และ ความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม
Competition gap คือ การหาช่องว่างในตลาดของธุรกิจใหม่ โดยการวิเคราะห์คู่แข่งว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร